รูปแบบธุรกิจ
การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
ผู้ประกอบการต้องเลือกรูปแบบองค์กรให้เหมาะสมกับ เงินทุน ความรู้ ความสามารถ
และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการขอจัดตั้งธุรกิจโดยการขอจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า(Department
of Business Development) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม
กำกับ ดูแล และให้บริการในการประกอบธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ องค์กรธุรกิจแบ่งได้ 2
ลักษณะ คือ
1.
การแบ่งตามลักษณะการประกอบการ
2.
การแบ่งตามลักษณะการจัดตั้งตามกฎหมาย
1. การแบ่งตามลักษณะการประกอบการ
1.1 กิจการบริการ (Service Firm) หมายถึง
การดำเนินธุรกิจที่อาศัยความรู้ความชำนาญในการให้บริการเพื่อสร้างความพอใจให้แก่ผู้รับบริการ
ผลตอบแทน คือ รายได้จากการให้บริการ ส่วนค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนบริการที่กิจการได้จ่ายออกไปเพื่อก่อให้เกิดรายได้
รวมถึงค่าใช้จ่ายดำเนินการและดอกเบี้ยจ่ายที่เกิดจากการใช้ประโยชน์จากเงินกู้
ธุรกิจบริการ ได้แก่ การขนส่ง การท่องเที่ยวและการบันเทิง เป็นต้น
1.2 กิจการซื้อ-ขายสินค้า (Merchandising Firm) หมายถึง
การดำเนินธุรกิจซื้อสินค้ามาและขายสินค้าไป รายได้เกิดจากการขายสินค้า
ส่วนค่าใช้จ่าย คือ ต้นทุนสินค้าที่ขาย รวมถึงค่าใช้จ่ายใน
การซื้อ
และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการทำให้สินค้าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะขาย
นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ และดอกเบี้ยจ่าย ธุรกิจซื้อ-ขายสินค้า ได้แก่
ห้างสรรพสินค้า ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า ร้านจำหน่ายหนังสือ เป็นต้น
1.3 กิจการอุตสาหกรรม (Manufacturing Firm) หมายถึง
การดำเนินธุรกิจโดยการนำวัตถุดิบและวัสดุในการผลิต
มาแปลสภาพเป็นสินค้าและนำสินค้าที่ผลิตเสร็จออกจำหน่าย
รายได้ของธุรกิจเกิดจากการขายสินค้าที่ผลิตเสร็จแล้ว
ส่วนค่าใช้จ่ายประกอบด้วยต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ธุรกิจที่ทำการผลิตสินค้าเพื่อขาย ไดแก่ ธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูป
ธุรกิจประกอบรถยนต์ และธุรกิจขุดเจาะน้ำมัน เป็นต้น
2. การแบ่งตามลักษณะการจัดตั้งตามกฎหมาย
2.1 กิจการเจ้าของคนเดียว (Single Proprietorship) เป็นกิจการที่จัดตั้งได้ง่ายใช้เงินทุนไม่มาก
บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของหรือลงทุนคนเดียว
เจ้าของกิจการมีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารงาน ควบคุมการดำเนินงานเองทั้งหมด การจัดตั้งหรือเลิกล้มทำได้ง่าย
เมื่อกิจการประสบผลสำเร็จมีผลกำไรก็จะได้รับผลประโยชน์เพียงคนเดียว
ในขณะเดียวกันก็ยอมรับการเสี่ยงภัยจากการขาดทุนเพียงคนเดียวเช่นกัน
กิจการประเภทนี้เป็นกิจการขนาดเล็ก เช่น ร้านค้าย่อยหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ
สำนักงานบัญชี สำนักงานทนายความ เป็นต้น
2.1.1 ข้อดีของกิจการเจ้าของคนเดียว
1) การจัดตั้งธุรกจทำได้ง่ายใช้เงินทุนน้อย
2)
มีอิสระในการตัดสินใจ เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการ
3) มีข้อบังคับทางกฎหมายน้อย
4) ผู้ประกอบการได้รับผลกำไรทั้งหมดเพียงคนเดียว
5) การเลิกกิจการทำได้ง่าย
2.1.2 ข้อเสียของกิจการเจ้าของคนเดียว
1) การขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เนื่องจากเงินทุนมีจำกัด
2) การตัดสินใจโดยเจ้าของเพียงคนเดียวอาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย
3)
รับผิดชอบในหนี้สินของกิจการไม่จำกัดจำนวนเพียงคนเดียว
4) ระยะเวลาดำเนินงานไม่ยั่งยืน
5)
ความสามารถในการคิดและบริหารงานมีจำกัด
เพราะเกิดจากเจ้าของเพียงคนเดียว
2.2 กิจการห้างหุ้นส่วน (Partnership) เป็นกิจการที่พัฒนาจากกิจการเจ้าของคนเดียว
มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงที่จะประกอบธุรกิจร่วมกัน เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะนำกำไรมาแบ่งปันซึ่งกันและกันกิจการห้างหุ้นส่วนมีสถานะแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์
แบ่งห้างหุ้นส่วนเป็น 2 ประเภทคือ
2.2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Unlimited Partnership) หมายถึง ห้างหุ้นส่วนซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้
ห้างหุ้นส่วนสามัญแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิได้จดทะเบียน
มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดา จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งคำนวณจากเงินได้สุทธิตามอัตราก้าวหน้า
2)
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีสภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย
และใช้ชื่อนำหน้าห้างหุ้นส่วนว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล"
เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิประจำปี
2.2.2 ห้างหุ้นส่วนจำกัด (limited Partnership) หมายถึง ห้างหุ้นส่วนซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท
คือ
1)
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดชอบ
ผู้เป็นหุ้นส่วนจะรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนเพียงจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบ
ผู้เป็นหุ้นส่วนจะรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
คุณสมบัตินี้ถือเป็นสาระสำคัญในการดำรงอยู่ของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิ์ในการบริหารกิจการของห้างหุ้นส่วน
2.2.3 ข้อดีของกิจการห้างหุ้นส่วน
1) การขยายกิจการหรือเงินทุนทำได้ง่ายกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
2) มีผู้รับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วน 2 ประเภท
(1) รับผิดชอบไม่จำกัดจำนวน
(2) รับผิดชอบตามเงินทุนที่นำมาลงทุนในห้างหุ้นส่วน
3) การบริหารกิจการรัดกุมขึ้น เนื่องจากมีหุ้นส่วนที่ร่วมตัดสินใจ
4) มีความมั่นคง และน่าเชื่อถือมากกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
2.2.4 ข้อเสียของกิจการห้างหุ้นส่วน
1)
การดำรงอยู่ของห้างหุ้นส่วนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้เป็นหุ้นส่วน
2) ผู้เป็นหุ้นส่วนรับผิดชอบไม่จำกัดจำนวนเท่านั้นที่มีสิทธฺ์ในการบริหาร
3) การตัดสินใจล่าช้า ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้เป็นหุ้นส่วน
4) กฎระเบียบ ข้อบังคับมากกว่ากิจการเจ้าของคนเดียว
ส่วนการดำเนินของห้างหุ้นส่วน
หากในสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนมิได้ระบุให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมมีสิทธิ์จะจัดการห้างหุ้นส่วนได้
โดยถือว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทุกคน
ส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับการแบ่งกำไรขาดทุนผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนตามอัตราส่วนที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
แต่ถ้ามิได้ตกลงกันไว้กฏหมายบัญญัติให้แบ่งกำไรขาดทุนตามอัตราส่วนทุนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนนำมาลงทุนไว้ในห้างหุ้นส่วน
2.3 บริษัท จำกัด (Limited Company) หมายถึง
ธุรกิจซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนเป็นหุ้นแต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่า ๆ กัน
ผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ตนถือ
ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เสียภาษีเงินได้นิติบุลคล คำนวณจากกำไรสุทธิประจำปี
ผู้ถือหุ้นจะได้รับผลตอบแทนการลงทุนจากส่วนแบ่งกำไรเป็นเงินปันผล (Dividends) ตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น
หุ้นซื้อขายหรือโอนเปลี่ยนมือได้ บริษัท จำกัด มี 2 ประเภท
คือ
2.3.1 บริษัทจำกัด
ตั้งขึ้นตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปจัดทำหนังสือบริคณห์สนธินำไปจดทะเบียน
จัดให้หุ้นมีผู้เข้าซื้อจองซื้อหุ้นจนครบ ประชุมจัดตั้งบริษัท แต่งตั้งกรรมการ
เรียกชำระค่าหุ้นและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
2.3.2 บริษัท มหาชน
จำกัด หมายถึง บริษัทจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 มีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อบุคคลทั่วไป แบ่งหุ้นเป็นหุ้น
มูลค่าหุ้นเท่าๆกัน ชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่า
ผู้ถือหุ้นไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ตนถือ
2.3.3 ข้อแตกต่างระหว่างบริษัท จำกัด
และบริษัท มหาชน จำกัด
การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
ผู้ประกอบการต้องเลือกรูปแบบองค์กรให้เหมาะสมกับ เงินทุน ความรู้ ความสามารถ
และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง เพื่อให้การประกอบธุรกิจเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการขอจัดตั้งธุรกิจโดยการขอจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า(Department
of Business Development) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม
กำกับ ดูแล และให้บริการในการประกอบธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ องค์กรธุรกิจแบ่งได้ 2
ลักษณะ คือ
2) หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดชอบ
ผู้เป็นหุ้นส่วนจะรับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนไม่จำกัดจำนวน
คุณสมบัตินี้ถือเป็นสาระสำคัญในการดำรงอยู่ของห้างหุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิ์ในการบริหารกิจการของห้างหุ้นส่วน
ส่วนการดำเนินของห้างหุ้นส่วน
หากในสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนมิได้ระบุให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมมีสิทธิ์จะจัดการห้างหุ้นส่วนได้
โดยถือว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการทุกคน
ส่วนการดำเนินการเกี่ยวกับการแบ่งกำไรขาดทุนผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนตามอัตราส่วนที่ตกลงกันไว้ในสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
แต่ถ้ามิได้ตกลงกันไว้กฏหมายบัญญัติให้แบ่งกำไรขาดทุนตามอัตราส่วนทุนที่ผู้เป็นหุ้นส่วนนำมาลงทุนไว้ในห้างหุ้นส่วน
รายการ
|
บริษัท
จำกัด
|
บริษัท
มหาชน จำกัด
|
1. กฎหมายจัดตั้ง
|
จัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
|
จัดตั้งตามพระราชบัญญัติบริษัท
มหาชน จำกัด พ.ศ. 2535
|
2. วิธีการจัดตั้ง
|
มีผู้เริ่มก่อการอย่างน้อย 3 คน
|
มีผู้เริ่มก่อการอย่างน้อย 15 คน
|
3. วัตถุประสงค์
|
เพื่อมุ่งในทางการค้าเพื่อหากำไร
|
เพื่อเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
|
4. มูลค่าหุ้น
|
มูลค่าหุ้นไม่ต่ำกว่าหุ้นละ 5 บาท
|
ไม่ได้กำหนดมูลค่าหุ้น
|
5. การชำระค่าหุ้น
|
ชำระค่าหุ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 25
พร้อมส่วนเกินมูลค่าหุ้น
|
ชำระค่าหุ้นเต็มจำนวนภายในเวลาที่กำหนด
|
2.3.4 ข้อดีของกิจการบริษัทจำกัด
1) การระดมทุนสามารถทำได้ง่ายกว่ากิจการอื่น
2) สามารถคัดเลือกผู้มีความรู้
ความสามารถมาบริหารกิจการ
3) ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้สิน่เกินจำนวนเงินที่ส่งใช้ค่าหุ้นไม่ครบมูลค่าที่ถือ
3) ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้สิน่เกินจำนวนเงินที่ส่งใช้ค่าหุ้นไม่ครบมูลค่าที่ถือ
4) มีความมั่นคง ยั่งยืน
และน่าเชื่อถือกว่ากิจการประเภทอื่น
2.3.5 ข้อเสียของกิจการบริษัทจำกัด
1) มีกฎระเบียบ ข้อบังคับ
ที่กำกับดูแลเข้มงวดกว่ากิจการอื่น
2) การบริหารงานบางอย่างล้าช้าต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
3) มีภาระด้านค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีมากกว่าธุรกิจประเภทอื่น ๆ
3) มีภาระด้านค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีมากกว่าธุรกิจประเภทอื่น ๆ
4) สิทธิอำนาจต่าง ๆ เป็นของคณะกรรมการ
ผู้ถือหุ้นไม่มีสิทธิ์นอกจากได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
การเปรียบเทียบลักษณะกิจการประเภทต่าง ๆ
รายการ
|
เจ้าของคนเดียว
|
ห้างหุ้นส่วน
|
บริษัท จำกัด
|
1. การจัดตั้ง
|
กิจการกับเจ้าของมีสถานะ
เป็นบุคคลเดียวกัน
|
กิจการมีสถานะแยกต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วน
|
กิจการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากกับเจ้าของกิจการ
|
2. เงินทุน
|
เงินทุนจำกัด
|
ระดมทุนจากหุ้นส่วน
|
ระดมทุนได้คล่องกว่า
|
3. การบริหาร
|
เจ้าของตัดสินใจเอง
|
ร่วมปรึกษาหารือระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน
|
มีคณะกรรมการบริหาร
|
4. ความรับผิดชอบใน หนี้สิน
|
รับผิดชอบเพียงคนเดียว
|
มีผู้ร่วมรับผิดชอบอย่างน้อย
2 คน
|
รับผิดชอบเฉพาะมูลค่าหุ้นที่ส่งใช้ไม่ครบ
|
5. ผลดำเนินการ
|
เป็นเจ้าของคนเดียว
|
แบ่งปันระหว่างหุ้นส่วน
|
จ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น
|
6. ภาษี
|
เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
|
เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล
|
เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
|
3. การบัญชีเกี่ยวกับส่วนของเจ้าของ (Owner’s Equity หรือ Capital)
ส่วนของเจ้าของหรือทุน หมายถึง ส่วนได้คงเหลือในสินทรัพย์หลังจากหักหนี้สินออกแล้ว สมการบัญชีเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ใช้คำนวณหาส่วนของเจ้าของได้ดังนี้
ส่วนของเจ้าของหรือทุน หมายถึง ส่วนได้คงเหลือในสินทรัพย์หลังจากหักหนี้สินออกแล้ว สมการบัญชีเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ใช้คำนวณหาส่วนของเจ้าของได้ดังนี้
ส่วนของเจ้าของ =
สินทรัพย์ – หนี้สิน
ในกรณีที่ไม่มีหนี้สิน
ส่วนของเจ้าของ =
สินทรัพย์
การบัญชีของผู้จดทะเบียนธุรกิจ
ในส่วนที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้และค่าใช้จ่ายของกิจการเจ้าของคนเดียว กิจการห้างหุ้นส่วน และกิจการบริษัท จำกัด จะมีหลักการบันทึกบัญชีและการแสดงรายการในงบการเงินของกิจการเป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียวกัน
ยกเว้นส่วนของเจ้าของหรือบัญชีทุน
การบันทึกบัญชีและการแสดงรายการในงบดุลจะแสดงแตกต่างกันตามรูปแบบของการจัดตั้งกิจการ
3.1
กิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการเจ้าของคนเดียวเรียกส่วนทุนว่าส่วนของเจ้าของซึ่งหมายถึง
ผลรวมของเงินสด
หรือสินทรัพย์อื่นทั้งหมดที่เจ้าของนำมาลงทุนในกิจการกับกำไรที่เกิดขึ้นหักด้วยส่วนที่เจ้าของถอนทุนและผลขาดทุนที่เกิดขึ้น
บัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของ กิจการเจ้าของคนเดียวประกอบด้วย
3.1.2 บัญชีถอนใช้ส่วนตัว (Drawing Account) เป็นบัญชีที่บันทึกการถอนเงินหรือการเบิกสินทรัพย์อื่น
โดยเจ้าของกิจการนำไปใช้ส่วนตัว การบันทึกบัญชี จะเดบิตถอนใช้ส่วนตัว
และเครดิตบัญชีที่เกี่ยวข้อง
เมื่อสิ้นงวดบัญชีจะโอนปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวไปบัญชีทุน มีผลทำให้บัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของลดลง
3.2 กิจการห้างหุ้นส่วน
ส่วนของเจ้าของสำหรับกิจการห้างหุ้นส่วน เรียกว่า ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วน ซึ่งหมายถึงเงินสดหรือทรัพย์สินอื่นหรือแรงงาน
ที่ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุนในกิจการและกำไรขาดทุนส่วนที่ยังไม่แบ่งสรร
บัญชีส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบด้วย
3.2.1 บัญชีทุน (Capital Account) หมายถึง
บัญชีที่ใช้บันทึกรายการ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนโดยตรง เช่น
รายการลงทุนครั้งแรก การเพิ่มทุนและการถอนทุน
บัญชีของห้างหุ้นส่วนมีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน เช่น ห้างหุ้นส่วน
ดาวล้อมเดือน มีหุ้นส่วน 3 คน บัญชีทุนของห้างหุ้นส่วนจะมี 3 บัญชี คือ
บัญชีทุน-ดาว บัญชีทุน-ล้อม บัญชีทุน-เดือน
3.2.2 บัญชีเดินสะพัดทุนหรือบัญชีกระแสทุน (Current Account) หมายถึง บัญชีที่ใช้บันทึกเกี่ยวกับผลประโยชน์หรือรายการสิทธิส่วนได้เสียของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนเช่น
การแบ่งผลกำไร ขาดทุน ถอนใช้ส่วนตัว การคิดดอกเบี้ยทุน การให้เงินเดือน หรือ
โบนัสแก่ผู้เป็นหุ้นส่วน หากบัญชีเดินสะ
พัดทุนหรือบัญชีกระแสทุนมียอดคงเหลือด้านเดบิตจะเป็นลูกหนี้ ถ้ามียอดคงเหลือด้านเครดิตจะเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ บัญชีเดินสะพัดทุนหรือบัญชีกระแสทุนอาจมีดุลบัญชีเดบิตหรือเครดิตก็ได้
และจะเปิดขึ้นเท่ากับจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วน การเปิดบัญชีเดินสะพัดทุนหรือกระแสทุนใช้กับวิธีการบันทึกบัญชีระบบต้นทุนคงที่
โดยจะบันทึกรายการต่าง ๆ ที่ทำให้ทุนเปลี่ยนแปลงในบัญชีเดินสะพัดทุนหรือบัญชีกระแสทุนของผู้เป็นหุ้นส่วน
ระบบต้นทุนคงที่ วิธีนี้ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะมีบัญชีเกี่ยวกับทุน 2 บัญชี คือ
บัญชีทุนและบัญชีเดินสะพัดทุนหรือบัญชีกระแสทุน ส่วนระบบทุนเปลี่ยนแปลง
ผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนจะมีบัญชีเกี่ยวกับทุนเพียงบัญชีเดียว
รายการที่ทำให้ทุนเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะบันทึกในบัญชีทุนเท่านั้น
3.2.3 บัญชีเงินกู้ – ผู้เป็นหุ้นส่วน (Payable to Partner Account) หมายถึง
เงินที่ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนกู้ยืม ผลตอบแทนคือดอกเบี้ย
หากห้างหุ้นส่วนเลิกกิจการและมีการชำระบัญชี
ส่วนบัญชีเงินกู้ของผู้เป็นหุ้นส่วนจะได้ความคุ้มครองที่จะได้รับเงินคืนทุนจากห้างหุ้นส่วนก่อนบัญชีทุนผู้เป็นหุ้นส่วน
3.3 กิจการบริษัท
จำกัด
ส่วนของเจ้าของกิจการบริษัท จำกัด เรียกว่าส่วนของผู้ถือหุ้น (Stock Holder’s Equity) ซึ่งหมายถึง
เงินทุนที่ผู้ถือหุ้นนำมาลงทุนโดยการซื้อหุ้นที่บริษัทจดทะเบียนและนำออกจำหน่าย
ตลอดจนสิทธิเรียกร้องต่าง ๆ ของผู้ถือหุ้นและกำไรสะสมที่คงเหลือในกิจการ
ส่วนของผู้ถือหุ้น ประกอบด้วย
3.3.1 บัญชีทุนเรือนหุ้น (Capital Stock) หมายถึง
หุ้นทุนของบริษัทที่แสดงด้วยมูลค่าที่จดทะเบียนของบริษัทตามกฎหมาย
ซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้น ได้แก่ หุ้นสามัญ (Common
Stock) และ
หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred
Stock)
1) หุ้นสามัญ (Common Stock) เป็นหุ้นที่ไม่ได้กำหนดอัตราเงินปันผลผู้ถือหุ้นประเภทนี้มีฐานะเป็นเจ้าของและมีสิทธิบริหารงานของบริษัท
โดยการเลือกตั้งกรรมการเพื่อบริหารงานแทน
เมื่อเลิกกิจการผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับส่วนแบ่งในสินทรัพย์หลังผู้ถือหุ้นประเภทอื่น
2) หุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) เป็นหุ้นที่กำหนดอัตราเงินปันผลแน่นอน
ผู้ถือหุ้นประเภทนี้มีฐานะเป็นเจ้าของและมีสิทธิได้รับเงินปันผลก่อนผู้ถือหุ้นสามัญหรือมีสิทธิพิเศษอื่นเมื่อเลิกกิจ
การผู้ถือหุ้นประเภทนี้จะได้รับเงินทุนคืนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
โดยทั่วไปผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะถูกจำกัดสิทธิ การออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้น
บัญชีที่เกี่ยวข้องสำหรับส่วนของทุนเรือนหุ้นได้แก่
บัญชีทุน-หุ้นสามัญ และบัญชีทุน–หุ้นบุริมสิทธิ
การบันทึกบัญชีทั้ง 2 ประเภทต้องบันทึกด้วยมูลค่าของหุ้น (Par Value) เสมอ
3.3.2 ส่วนเกินทุน (Capital
Surplus) หมายถึง ส่วนที่เกินกว่าทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้ว
ซึ่งเกิดจากการจำหน่ายหุ้นทุน การแปลสภาพหุ้นทุน การไถ่คืนหุ้นทุน เป็นต้น
ส่วนเกินทุนไม่ถือเป็นกำไรของกิจการ และไม่อาจนำไปจ่ายเงินปันผลได้
1) ส่วนเกินมูลค่าหุ้น (Premium
on Share) หมายถึง
มูลค่าหุ้นส่วนที่จำหน่ายได้สูงกว่าราคาตามมูลค่า
ทั้งของหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ
หากบริษัทออกหุ้นทุนในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าจะเกิดผลต่างด้านเดบิตแสดงเป็นรายการหักจากส่วนของผู้ถือหุ้น
2) ส่วนเกินทุนอื่น (Other Surpluses) หมายถึง ส่วนเกินทุนอื่น
ๆ นอกจากส่วนเกินมูลค่าหุ้น เช่น ส่วนเกินทุนจากการไถ่ถอนหุ้นบุริมสิทธิ
ส่วนเกินทุนจากริบหุ้น เป็นต้น
3.3.3 กำไรสะสม (Retained Earnings) หมายถึง
กำไรจากการดำเนินงานที่เก็บสะสมไว้ตั้งแต่วันเริ่มกิจการ หัก จำนวนที่จ่ายออกไปแก่ผู้ถือหุ้น
เช่น เงินปันผล กำไรสะสมจะมียอดดุลด้านเครดิตถ้าแสดงยอดคงเหลือด้านเดบิต เรียกว่า
ขาดทุนสะสม แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1) กำไรสะสมที่จัดสรรแล้ว ( Appropriated
Retained Earnings) เป็นกำไรสะสมที่กิจการกันไว้เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ
เช่น สำรองตามกฎหมาย สำรองเพื่อการขยายงาน เป็นต้น
2) กำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร (
Unappropriated Retained Earnings) คือกำไรที่เหลือจากการจัดสรรแล้ว สามารถนำกำไรสะสมส่วนนี้ไปจ่ายเป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นได้
บทสรุป
รูปแบบของธุรกิจแบ่งได้ 2 ลักษณะคือ
การแบ่งตามลักษณะการประกอบการ ซึ่งได้แก่ กิจการบริการ กิจการซื้อ – ขายสินค้าและกิจการอุตสาหกรรม
และการแบ่งตามลักษณะการจัดตั้งตามกฎหมาย ซึ่งได้แก่ กิจการเจ้าของคนเดียว
กิจการห้างหุ้นส่วน และกิจกา รบริษัท จำกัด
การบันทึกบัญชีของแต่ละกิจการในส่วนของสินทรัพย์
หนี้สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดียว
ยกเว้นส่วนของเจ้าของที่แสดงในงบดุลจะแสดงแตกต่างกันไปตามรูปแบบของการจัดตั้งธุรกิจ
กิจการแต่ละประเภทมีทั้งข้อดี และข้อเสีย
การจะเลือกประกอบกิจการประเภทใด
ผู้ประกอบการจะต้องเลือกรูปแบบของกิจการให้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ เงินทุน
และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกิจการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น